The birth and growth of squash

by Duncan Stearn

The large influx of foreign – mainly British – expatriates to work in the growing and lucrative timber industry in the northern part of Thailand during the latter part of the nineteenth century was largely responsible for the establishment of the game squash, known then as squash rackets, in the Kingdom. The game had originally begun around 1820 at Harrow School in England.

The first squash court, made entirely from teak, was erected in 1895 at the Chiang Mai Gymkhana Club in the first year of that organisation’s existence. Sadly, the court was demolished in 1985 after some 90 years of use.

In 1905 the Royal Bangkok Sports Club (RBSC) mooted the possibility of introducing squash to the capital by constructing a dual-purpose facility. At the time there were around 30 regular squash players living and working in the city and due to the lack of facilities they were compelled to compete with each other on a private court owned by an expat named Eric Lawson.
Given the pace of progress in Thailand it’s probably not surprising that the RBSC’s first squash court wasn’t opened until 1908.

In 1910 David McFie, a founding member of the Chiang Mai Gymkhana Club, sponsored the first organised squash competition, a doubles event named the Chiang Mai Challenge Cup. The Cup was held in Bangkok at the Royal Sports Club and it is still running, undoubtedly one of the oldest squash competitions in the world.

The first squash competition conducted at the Chiang Mai Gymkhana Club was held in 1911 and known as the Lowe Cup.

Squash achieved Royal recognition in October 1926 with the RBSC sponsoring the King’s Cup. The winner’s trophy was presented by King Prajadhipok (Rama VII), himself a keen squash enthusiast who had been introduced to the sport while attending Eton College in England.

The King’s Cup, recognised as the national open championship, has been held every year since then with the only break coming between 1942 and 1945 when Thailand sided with the Japanese during the darkest years of the Second World War.

The first local champion to emerge out of the sport was Yong Hoontrakul who snared the King’s Cup eight times between 1928 and 1938. His son, Sudhanan Hoontrakul maintained the family tradition by winning both the King’s Cup and the RBSC singles title three times during the 1960s.

Kevin Crump, an Australian expatriate, proved to be the most dominant local player in the 1970s with a staggering seven consecutive King’s Cup victories between 1972 and 1978. During the same period he also annexed the RBSC singles title and the Queen’s Cup doubles competition four times each.


ประวัติถ้วยการแข่งขัน Chiang Mai Cup

ราวหนึ่งศตวรรษก่อน กลุ่มชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทยที่อาศัยอยู่ตอนบนของประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวอังกฤษ มักใช้เวลาว่างของพวกเขาในการเล่นกีฬาที่เรียกว่า สควอช พวกเขาส่วนใหญ่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้สัก จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่พวกเขารวมตัวกันและสร้างคอร์ทสควอชสำหรับเล่นด้วยไม้สัก มิสเตอร์ David F. Macfie คือหนึ่งในบรรดากลุ่มผู้เล่นสควอชที่มีประวัติการแข่งขันสควอชมาก ในช่วงทศวรรษ 1890 ถึง 1920 ท่านทำงานในบริษัท บอร์เนียว จำกัด และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเชียงใหม่ยิมคานา (Chiang Mai Gymkhana Club) ซึ่งมีคอร์ทสควอช 2 คอร์ทและมีกลุ่มผู้เล่นที่เล่นอยู่กันเป็นประจำ

ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 1980 คอร์ทไม้สักคอร์ทสุดท้ายที่เชียงใหม่ยิมคานาได้ถูกรื้อถอนออกไป เพื่อเป็นการรักษาชื่อของ มิสเตอร์ แมคฟี และจังหวัดเชืยงใหม่ไว้ ในปี 1909 มิสเตอร์แมคฟี จึงเสนอให้ ราชกรีฑาสโมสร หรือ RBSC จัดการแข่งขันถ้วย Chiang Mai Cup ขึ้น ซึ่งได้มีการแข่งขันครั้งแรกเมื่อเดือน ตุลาคม 1910 ถ้วยแข่งขันนี้เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติเนื่องจากเป็นถ้วยนานาชาติสำหรับการแข่งขันสควอชแบบคู่ (ผู้เล่นทีมละ 2 คน) และมีข้อกำหนดว่า ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องมาจากที่เดียวกัน เช่น ทำงานในบริษัทเดียวกัน ธนาคารเดียวกัน หน่วยงานราชการเดียวกัน หรือโรงเรียนเดียวกัน เป็นต้น

ผู้ชนะคู่แรกในการแข่งขันในปี 1910 คือทนายความชาวอังกฤษสองท่านที่ทำงานที่เดียวกันในกระทรวงยุติธรรมของประเทศไทย การแข่งขัน Chiang Mai Cup ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปีจนกระทั่งต้องหยุดลงระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับมาเริ่มแข่งขันใหม่ในปี 1947 การแข่งขันในปี 1993 นี้จะนับได้ว่าเป็นการแข่งขันครั้งที่ 67 ในรอบ 84 ปี

ในปี 1913 มิสเตอร์ แมคฟี เล่นคู่กับ มิสเตอร์ O. M. Peiniger และได้ครองแชมป์ในปีนั้น โดยเป็นคู่ตัวแทนจากบริษัท บอร์เนียว จำกัด

ปีก่อนหน้านี้คือ 1912 ผู้เล่นจากบริษัทการค้าบอมเบย์-พม่า ได้ครองถ้วยชนะเลิศนี้เป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นได้คว้าแชมป์ถ้วย Chiang Mai Cup นี้กว่าอีก 12 ครั้งในรอบ 20 ปีต่อมา

นอกจากนี้ยังมี คุณ ดวงทอง บุนนาค ที่ชนะเลิศถึง 11 ครั้งในช่วงปี 1957 – 1981 โดยร่วมทีมกับผู้เล่นอื่นหลายคนแม้แต่กระทั่งลูกชายของท่านเอง Dr. Thon Charuson ที่ชนะเลิศไม่น้อยกว่า 9 ครั้ง และ W.R.H Taylor ก็เป็นแชมป์ถึง 9 ครั้งในช่วงปี 1912 – 1923

ถ้วย Chiang Mai Cup ที่ราชกรีฑาสโมสรดูแลอยู่ทุกวันนี้ เป็นถ้วยรางวัลที่ใช้ตั้งแต่การแข่งขันครั้งแรกในปี 1910 มีขนาดความสูง 11 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม และเป็นถ้วยรางวัลที่ทำมาจากเงินสเตอร์ลิงแท้ (Hallmarked Sterling Sliver)

ขนาดของคอร์ทสควอชที่เล่นในช่วงแรกนั้นยังคงใช้ขนาดของคอร์ทผู้เล่นเดี่ยวอยู่ ต่อมาช่วงต้นปี 1950 ได้มีการขยายขนาดของสนามออกไป 2 ฟุตเพื่อให้ผู้เล่นมีเนื้อที่ในการเล่นมากขึ้น และต่อมาในปี 1976 จึงได้มีการสร้างสนามใหม่ตามมาตรฐานของอเมริกาตอนเหนือ ขนาดของคอร์ทจาก 672 ตารางฟุต ได้เปลี่ยนเป็น 736 ตารางฟุต และเป็น 1125 ตารางฟุตในที่สุด

ในปี 1989 จากการพิจารณาร่วมกันกับบุตรชายของ มิสเตอร์แมคฟี ที่ใช้ชีวิตบั้นปลายที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสียชีวิตต่อมาในปลายปี 1989 ถ้วย Chiang Mai Cup ได้เปิดกว้างมากขึ้นโดยรับผู้แข่งขันที่อยู่นอกประเทศไทยด้วย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจากประเทศ ไทย ฮ่องกง มาเลเซีย สิงคโปร์ มาโดยตลอด

ถ้วย Chiang Mai Cup จึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในรายการการแข่งขันกีฬาที่ติดอันดับเก่าแก่ที่สุดในโลกรายการหนึ่ง